“บุหรี่ขี้โย” เอกลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มคนล้านนา
การสูบบุหรี่ดูเป็นเรื่องปกติของคนยุคก่อน เพราะในสมัยก่อนไม่มีบุหรี่สำเร็จรูป เป็นซองขายแบบสมัยนี้
คนล้านนาทั้งหญิงและชายจะสูบบุหรี่ที่มวนด้วยใบตองกล้วย ชาวบ้านเรียกบุหรี่ชนิดนี้ว่า “ขี้โย” หรือ “บุหรี่ขี้โย”
ที่นิยมสูบกันมากอาจเนื่องมาจากอากาศหนาวเย็น การสูบบุหรี่คงทำให้ร่างกายอบอุ่นขึ้น
ใบที่ใช้มวนคนสมัยก่อนจะใช้ใบตองแห้งรีดให้เรียบห่อกับยาสูบโรยด้วยขี้โยม้วนเป็นแท่งๆ แบบบุหรี่สมัยนี้แต่ขนาดใหญ่และยาวกว่า
ทาใบตองให้ติดเป็นแท่งด้วยยางบะปิน (ยางมะตูม) ขนาดต้องเอายางมะตูมใส่กระปุกไว้ทาอย่างเป็นเรื่องเป็นราวทีเดียว บางครั้งก็เรียกว่าบุหรี่ขี้โย
ใบตองคนเหนือออกเสียงว่า ใบต๋อง บุหรี่ออกเสียงว่าบูรี
ส่วนขี้โยทำมาจากเปลือกมะขามบดหยาบ ปัจจุบันมีขายตามร้านขายของชำตามชนบทเชียงใหม่
บางคนที่ปลูกยาขายเตาบ่มก็จะเก็บใบยามาซอยเป็นฝอยๆด้วยเขียงซอยยา ซึ่งถ้าจะหาดูได้ในสมัยนี้คงจะพอมีอยู่แถวบ้านสบคำ
หลังซอยเสร็จก็จะเอามาผึ่งแดดบนแตะยาให้แห้ง ม้วนเก็บใช้ตอกมัด เอาไว้สูบเองหรื่อไม่ก็ขาย แบ่งเป็นยาขื่น (ฉุน)
ได้จากใบยาที่เก็บจากใบที่เก็บจากโคนต้น ยากลาง คือยาที่เก็บจากใบยากลางๆต้น และยาจาง คือยาที่เก็บจากใบยาส่วนปลายต้น แรกๆใช้ใบตองอ่อน
ขยันหน่อยก็เก็บใบตองอ่อนมาใช้ความรัอนจากเตารีดโบราณ(ใช้ถ่าน) รีดให้แห้งมีกลิ่นหอม ฉีกเป็นแผ่นๆกะพอประมาณให้ใช้พันยาเส้นให้เป็นมวนๆได้ บ้างคนก็ใส่ขี้โยด้วย
สมัยนั้นทั้งยาเส้นและขี้โยจะมีขายในตลาด เวลามีงานหรือแขกไปใครมาหาที่บ้าน อันดับแรกที่จะนำมาต้อนรับ คือ จานใส่เหมี้ยง บุหรี่ ขี้โยและหมาก